วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

การระเหย

อยู่ ๆ ผมก็สงสัยว่า ทำไมจู่ ๆ เหงื่อถึงแห้ง ทั้ง ๆ ที่ผิวหนังคนเรา อุณหภูมิก็ไม่ถึงจุดเดือดอย่างที่เราเรียนมาตอนเด็ก ๆ ก็ได้คำตอบดังนี้

การระเหย (อังกฤษ: Evaporation) คือ กระบวนการที่น้ำที่เป็นของเหลว เปลี่ยนสภาพโดยธรรมชาติเป็นก๊าซ โดย "ไม่จำเป็น" ต้องมีอุณหภูมิถึงจุดเดือด จะมีอุณหภูมิเท่าใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับความดันบรรยากาศ และความชื้นของอากาศในขณะนั้น โดยจะค่อย ๆ ระเหยบริเวณผิวน้ำไปเรื่อย ๆ อย่างช้า ๆ อย่างเช่นน้ำจากทะลที่ระเหยไปเรื่อย ๆ ทะเลก็ไม่ได้มีอุณหภูมิถึงจุดเดือด

กระบวนการระเหยนั้น ตรงกันข้ามกับ "การควบแน่น" ซึ่งหมายถึงการที่ไอน้ำ (น้ำในสถานะก๊าซ) เปลี่ยนเป็นของเหลว

ส่วนการเดือด (ที่ระดับน้ำทะเล) ซึ่งเราจะเห็นเมื่อเราต้มน้ำ จนถึงจุดเดือดที่ 100 องศาเซลเซียส จะเห็นว่าน้ำทั้งหมด ทั้งบนผิว และใต้น้ำ จะเปลี่ยนสถานะกลายเป็นก๊าซทั้งหมด โดยจะเกิดขึ้นเร็วกว่าการระเหยที่อุณหภูมิต่ำเป็นอย่างมาก

การระเหย ส่วนมากจะมีประโยชน์ในการทำให้เย็นลง เช่น เหงื่อที่ร่างกายปล่อยออกมา ก็จะใช้ความร้อนจากร่างกายในการเปลี่ยนสภาพกลายเป็นก๊าซ เพื่อลอยหายไปในอากาศ และจะนำความร้อนจากร่างกายออกไปด้วย พอเหงื่อแห้ง เราจะรู้สึกว่าร่างกายเย็นลง รู้สึกสบายตัวขึ้น

วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ส่วนประกอบของอากาศ

ส่วนประกอบของอากาศบนโลก 


ในอากาศที่พวกเราหายใจกันอยู่ทุกวันนี้ มีส่วนประกอบหลัก ๆ โดยประมาณดังนี้ คือ ไนโตรเจน 75%,  ออกซิเจน 23%, อาร์กอน 1% กว่า ๆ แล้วก็คาร์บอนไดออกไซด์ 0.046% (ตามน้ำหนัก)

สูตรเคมีของส่วนประกอบต่าง ๆ เป็นดังนี้ ออกซิเจน อยู่ในรูปของ O2, ไนโตรเจนอยู่ในรูปของ N2, คาร์บอนไดออกไซด์ CO2 แล้วก็อาร์กอน Ar

คนเราหายใจเอา Oเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต แล้วได้ของเสียเป็น CO2 ออกมา และในเวลากลางวัน พืชสังเคราะห์แสงโดยใช้ CO2 และน้ำ + โฟตอนจากแสงอาทิตย์ ได้ออกมาเป็น C6H12O6  และ O2 ออกมา



วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การสังเคราะห์แสง

การสังเคราะห์แสงโดยพืช เป็นปฏิกิริยาที่พืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำ ผลิตเป็นน้ำตาลกับออกซิเจนออกมา 

6CO+ 6H2O -----------> C6H12O+ 6O2
แสงอาทิตย์


CO2 = คาร์บอนไดออกไซด์ 
H2O = น้ำ
C6H12O6 = น้ำตาล
O2 = ออกซิเจน

ปฏิกิริยานี้มีคุณค่ามหาศาลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก และยังอาจมีส่วนสำคัญในการปรับสภาพผิวดาวอังคาร เพื่อให้เหมาะกับการที่มนุษย์จะสร้างถิ่นฐานถาวรในอนาคตด้วย เนื่องจากที่ขั้วของดาวอังคาร มี COปริมาณมากมายมหาศาลอยู่

โลกร้อน

อากาศร้อนนั้น ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะพอเข้าหน้าหนาว อากาศก็จะเย็น แต่ถ้า "โลกร้อน" อะไรจะเกิดขึ้น?

โลกร้อน คือลักษณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยของทั้งโลกสูงขึ้น ประเทศที่มีอากาศร้อนก็จะร้อนขึ้น ส่วนประเทศที่มีอากาศเย็น ก็จะมีฤดูหนาวสั้นลง ส่งผลให้น้ำแข็งที่ทับถมกันมาเป็นล้าน ๆ ปีละลาย เมื่อน้ำแข็งปริมาณมหาศาลละลาย ก็จะไหลลงไปในทะเล มหาสมุทร ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้น . . . นักวิทยาศาสตร์คำนวณไว้ว่า ถ้าน้ำแข็งที่ขั้วโลกละลายจนหมด จะทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้นถึง 200 กว่าฟุตทีเดียว

ดังนั้นภาวะโลกร้อน จึงส่งผลโดยตรงกับทุกคนบนโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศที่อยู่ติดทะเลอย่างประเทศไทย เพราะจะได้รับผลกระทบโดยตรงคือ น้ำท่วม และในกรณีที่เลวร้าย ก็อาจท่วมทั้งประเทศจนหายไปจากแผนที่โลกเลยก็เป็นได้

บล็อกนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิด และวิธีในการช่วยหยุดยั้งภาวะโลกร้อน โดยการร่วมมือร่วมใจของหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร รัฐบาล หรือประชาชนทุกคน เรามาร่วมมือช่วยกันก่อนที่โลกจะร้อนไปมากกว่านี้นะครับ